ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัด 88: | บรรทัด 88: | ||
นับตั้งแต่ปี 2564 ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นในเชิงลบของประชาชน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไบเดิน<ref>{{Cite web|last=Enten|first=Harry|date=2021-12-21|title=Biden's economic ratings are worse than Carter's {{!}} CNN Politics|url=https://www.cnn.com/2021/12/21/politics/joe-biden-jimmy-carter-economic-ratings/index.html|website=CNN|language=en}}</ref> ประชากรหญิงจำนวนมากได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากส่วนมากต้องลาออกจากงานเพื่อดูแลบุตร<ref>{{Cite web|last=Panetta|first=Grace|date=2023-04-25|title=Biden’s reelection could hinge on how much women voters trust him on the economy|url=https://19thnews.org/2023/04/president-joe-biden-reelection-women-voters-economy/|website=The 19th|language=en-us}}</ref> รัฐบาลกลางมีมาตรการเยียวยาปัญหาดังกล่าวด้วยการเสนอมาตรการดูแลเด็กซึ่งรวมถึงการขยายเครดิตภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ American Rescue Plan โดยเป็นมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง แต่มาตรการดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดก่อนการเลือกตั้งปี 2567<ref>{{Cite web|last=Panetta|first=Grace|date=2023-05-08|title=Why child care can’t be overlooked as an issue in 2024|url=https://19thnews.org/2023/05/child-care-issue-election-2024/|website=The 19th|language=en-us}}</ref> ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ทรัมป์และไบเดินลงนามในกฎหมายสำคัญหลายฉบับเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ<ref>{{Cite web|date=2017-12-22|title=Trump signs tax cut bill, first big legislative win|url=https://www.nbcnews.com/politics/politics-news/trump-signs-tax-cut-bill-first-big-legislative-win-n832141|website=NBC News|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Ewing|first=Giselle Ruhiyyih|date=2023-06-03|title=Biden signs debt ceiling bill|url=https://www.politico.com/news/2023/06/03/biden-signs-debt-ceiling-bill-00100093|website=POLITICO|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Hagen|first=Lydia Wheeler and Lisa|date=2017-01-30|title=Trump signs ‘2-for-1’ order to reduce regulations|url=https://thehill.com/homenews/administration/316839-trump-to-sign-order-reducing-regulations/|website=The Hill|language=en-US}}</ref> |
นับตั้งแต่ปี 2564 ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นในเชิงลบของประชาชน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไบเดิน<ref>{{Cite web|last=Enten|first=Harry|date=2021-12-21|title=Biden's economic ratings are worse than Carter's {{!}} CNN Politics|url=https://www.cnn.com/2021/12/21/politics/joe-biden-jimmy-carter-economic-ratings/index.html|website=CNN|language=en}}</ref> ประชากรหญิงจำนวนมากได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากส่วนมากต้องลาออกจากงานเพื่อดูแลบุตร<ref>{{Cite web|last=Panetta|first=Grace|date=2023-04-25|title=Biden’s reelection could hinge on how much women voters trust him on the economy|url=https://19thnews.org/2023/04/president-joe-biden-reelection-women-voters-economy/|website=The 19th|language=en-us}}</ref> รัฐบาลกลางมีมาตรการเยียวยาปัญหาดังกล่าวด้วยการเสนอมาตรการดูแลเด็กซึ่งรวมถึงการขยายเครดิตภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ American Rescue Plan โดยเป็นมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง แต่มาตรการดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดก่อนการเลือกตั้งปี 2567<ref>{{Cite web|last=Panetta|first=Grace|date=2023-05-08|title=Why child care can’t be overlooked as an issue in 2024|url=https://19thnews.org/2023/05/child-care-issue-election-2024/|website=The 19th|language=en-us}}</ref> ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ทรัมป์และไบเดินลงนามในกฎหมายสำคัญหลายฉบับเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ<ref>{{Cite web|date=2017-12-22|title=Trump signs tax cut bill, first big legislative win|url=https://www.nbcnews.com/politics/politics-news/trump-signs-tax-cut-bill-first-big-legislative-win-n832141|website=NBC News|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Ewing|first=Giselle Ruhiyyih|date=2023-06-03|title=Biden signs debt ceiling bill|url=https://www.politico.com/news/2023/06/03/biden-signs-debt-ceiling-bill-00100093|website=POLITICO|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Hagen|first=Lydia Wheeler and Lisa|date=2017-01-30|title=Trump signs ‘2-for-1’ order to reduce regulations|url=https://thehill.com/homenews/administration/316839-trump-to-sign-order-reducing-regulations/|website=The Hill|language=en-US}}</ref> |
||
==== การศึกษา ==== |
|||
ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง โจ ไบเดิน มีนโยบายผ่อนปรนการชำระเงินกู้ให้แก่นักศึกษาเป็นจำนวนเงินสูงถึง 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref>{{Cite web|last=Minsky|first=Adam S.|title=$132 Billion In Student Loan Forgiveness Approved: Who Qualifies, And What’s Next|url=https://www.forbes.com/sites/adamminsky/2024/01/05/132-billion-in-student-loan-forgiveness-approved-who-qualifies-and-whats-next/|website=Forbes|language=en}}</ref> ความช่วยเหลือดังกล่าวยังรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการค้างชำระหนี้เป็นเวลานาน ในเดือนสิงหาคมปี 2565 ไบเดินประกาศว่าเขาจะลงนามในคำสั่งที่จะยกหนี้ให้แก่นักศึกษาจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงหนี้จากการกู้เงินจำนวนรวม 10,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นโสดซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 125,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือคู่สมรสที่มีรายได้น้อยกว่า 250,000 ดอลลาร์ และ 20,000 ดอลลาร์สำหรับผู้ที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง (Pell Grant) ที่มอบให้กับนักเรียนที่ต้องการใช้จ่ายเงินเพื่อเข้าเรียนในวิทยาลัย<ref>{{Cite web|last=House|first=The White|date=2022-08-24|title=FACT SHEET: President Biden Announces Student Loan Relief for Borrowers Who Need It Most|url=https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2022/08/24/fact-sheet-president-biden-announces-student-loan-relief-for-borrowers-who-need-it-most/|website=The White House|language=en-US}}</ref><ref>{{Cite web|date=2023-06-30|title=Biden moves quickly in effort to reassure young voters on student loans|url=https://www.nbcnews.com/politics/joe-biden/biden-moves-quickly-effort-reassure-young-voters-student-loans-rcna92028|website=NBC News|language=en}}</ref> อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวถูกยกเลิกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 จากคำตัดสินของศาลฎีกาในคดี Biden v. Nebraska ซึ่งถูกท้าทายโดยผู้แทนจากหลายรัฐ<ref>{{Cite web|date=2023-06-30|title=The Supreme Court rejects Biden's plan to wipe away $400 billion in student loan debt|url=https://apnews.com/article/student-loan-forgiveness-supreme-court-653c2e9c085863bdbf81f125f87669fa|website=AP News|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Potts|first=Monica|date=2023-06-30|title=The Supreme Court Killed Biden’s Student Loan Forgiveness Plan. What Does That Mean For 2024?|url=https://fivethirtyeight.com/features/supreme-court-student-loan-forgiveness-biden/|website=FiveThirtyEight|language=en-US}}</ref> นโยบายดังกล่าวถูกวิจารณ์จากสมาชิกพรรครีพับลิกันส่วนมาก เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ |
|||
ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันหลายรายมองว่านโยบายทางการศึกษาจะนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งถัดไป รัฐหลายแห่งในสหรัฐออกกฎหมายปกป้องการวิพากษ์วิจารณ์เชื้อชาติ ซึ่งทำให้นักศึกษาได้รับเสรีภาพทางความคิดกรณีความแตกต่างทางเชื้อชาติมากขึ้น ผู้สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวมีความเห็นว่าการสนทนาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปในสถานศึกษา<ref>{{Cite web|last=Wilson|first=Reid|date=2021-06-23|title=GOP sees critical race theory battle as potent midterm weapon|url=https://thehill.com/homenews/campaign/559732-republicans-see-critical-race-theory-as-new-front-in-ongoing-culture-wars/|website=The Hill|language=en-US}}</ref><ref>{{Cite web|last=Asmelash|first=Leah|date=2021-05-05|title=A school district tried to address racism, a group of parents fought back|url=https://www.cnn.com/2021/05/05/us/critical-race-theory-southlake-carroll-isd-trnd/index.html|website=CNN|language=en}}</ref> |
|||
== ผู้สมัคร == |
== ผู้สมัคร == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:44, 8 กุมภาพันธ์ 2567
| ||||||||
สมาชิกคณะผู้เลือกตั้ง 538 คน ต้องการ 270 เสียงจึงชนะ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||
แผนที่เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 คาดการณ์จากแผนที่ใน พ.ศ. 2563 | ||||||||
|
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 60 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 [1] การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการจัดสรรคะแนนเสียงเลือกตั้งใหม่ตามการสำมะโนประชากรเมื่อ พ.ศ. 2563 นายโจ ไบเดิน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ประกาศเจตนารมณ์อย่างเป็นทางการว่าเขาจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2[2] เช่นเดียวกันกับดอนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีคนที่ 45 จากพรรครีพับลิกัน[3]
ในสหรัฐ การเลือกตั้งทั่วไปจะถูกจัดขึ้นหลังจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ทำการประชุมลับและเลือกผู้สมัครรอบแรกเพื่อเสนอชื่อเป็นประธานาธิบดี ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้จะต้องเข้าสาบานตนในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 ในครั้งนี้ทรัมป์ได้รับการคาดหมายว่าจะชนะการหยั่งเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรคลงชิงตำแหน่งอีกครั้ง โดยหากทรัมป์ชนะ เขาจะกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่สองต่อจาก โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ที่ดำรงประธานาธิบดีสองสมัยแบบไม่ต่อเนื่องกัน และหากไบเดินและทรัมป์ได้เป็นตัวแทนพรรคลงแข่งขันอีกครั้ง จะถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ที่เป็นการชิงชัยระหว่างผู้สมัครเดิมจากทั้งสองพรรค การเลือกตั้งมีกำหนดจัดขึ้นในวันเดียวกับการเลือกตั้งวุฒิสภา, การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น พ.ศ. 2567
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โรเบิร์ต เอฟ.เคนเนดี จูเนียร์ ทนายความด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม และนักเคลื่อนไหวการต่อต้านวัคซีน บุตรชายของโรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี และหลานชายของอดีตประธานาธิบดีชื่อดัง จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศลงชิงตำแหน่งในนามพรรคเดโมแครต[4] ในเดือนต่อมา คะแนนนิยมของเขาในฐานะผู้สมัครอิสระพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่การลงสมัครของ รอสส์ เพโรต์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535[5] ก่อนที่เขาจะหันไปลงสมัครในนามอิสระ
ศาลสูงสุดแห่งรัฐโคโลราโด และ เลขาธิการแห่งรัฐเมน มีมติตัดสิทธิทรัมป์จากการลงสมัครรับเลือกตั้งขั้นต้น โดยวินิจฉัยว่าทรัมป์ขาดคุณสมบัติในการรับตำแหน่งในรัฐบาลกลางสหรัฐ จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามก่อความไม่สงบ รวมถึงการขัดขวางกระบวนการรับรองไบเดินซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 นำสู่เหตุจลาจลในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม คำตัดสินดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์[6][7]
การเลือกตั้งครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกภายหลังศาลสูงสุดหรือศาลฎีกา พิพากษายกเลิกคำตัดสินคดี Roe v Wade ที่เคยพิพากษาเมื่อ พ.ศ. 2516 ว่าการทำแท้งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ ขบวนการเรียกร้องสิทธิการทำแท้ง, การประกันสุขภาพ,[8] การศึกษา,[9] เศรษฐกิจ,[10] นโยบายด้านการต่างประเทศ,[11] นโยบายด้านผู้ลี้ภัยและการข้ามชายแดน, สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ,[12] และ ประชาธิปไตย[13] ล้วนแต่ได้รับการคาดหมายให้เป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงครั้งนี้[14]
การเลือกตั้ง
กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดี
มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้นั้น จะต้องเป็นพลเมืองโดยกำเนิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และเป็นผู้พำนักในสหรัฐมาอย่างน้อย 14 ปี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม นั่นคือ ในขั้นแรก ประชาชนจะเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ในคณะผู้เลือกตั้ง จากนั้น คณะผู้เลือกตั้งเหล่านี้จะเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีโดยตรง[15] ผู้สมัครประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งอย่างน้อย 270 เสียง จึงจะถือว่าชนะการเลือกตั้ง
หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนครบ 270 เสียง จะมีการเลือกประธานาธิบดีในรัฐสภาแทน โดยสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจะทำการเลือกประธานาธิบดีจากผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด 3 คน ส่วนวุฒิสภาจะทำหน้าที่เลือกรองประธานาธิบดีจากผู้สมัครที่ได้รับคะแนนรวมสูงสุด 2 คน การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันกับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งวุฒิสภา รวมทั้งการเลือกตั้งระดับรัฐและระดับท้องถิ่น
การแทรกแซงการเลือกตั้ง
ดอนัลด์ ทรัมป์ประกาศอย่างชัดเจนว่าเขาไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งปี 2563 ซึ่งตนแพ้นายโจ ไบเดิน โดยอ้างว่ามีการโกงการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง และยังคงปฏิเสธการยอมรับผลการเลือกตั้งถึงปัจจุบัน[16][17] ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแสดงข้อกังวลว่า เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งปฏิเสธผลการเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว อาจพยายามขัดขวางกระบวนการลงคะแนน หรือปฏิเสธการยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้[18]
การสำรวจความคิดเห็นก่อนการเลือกตั้งชี้ให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อสถานะความเป็นประชาธิปไตยของชาวอเมริกัน[19] กลุ่มเสรีนิยม (ผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต) มีความเชื่อว่าพรรคอนุรักษนิยม และกลุ่มอนุรักษนิยมมีแนวโน้มคุกคามการเลือกตั้งด้วยวิธีแบบเผด็จการ รวมถึงความพยายามที่จะพลิกผลการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2563[20] ในขณะที่ผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันเชื่อว่าฝ่ายตรงข้ามพยายามขัดขวางการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของทรัมป์ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการกล่าวโทษ และการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐในข้อหาต่าง ๆ[21]
แผนที่การเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งนับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา การแข่งขันในรัฐส่วนใหญ่ของประเทศไม่สูสีเท่าที่ควร เนื่องมาจากความชัดเจนในทัศนคติของประชากร และสภาพสังคม โดยรัฐทางภูมิภาคตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ เช่น เท็กซัส, ลุยเซียนา, เคนทักกี, เนแบรสกา และ โอคลาโฮมา ล้วนแต่มีความเป็นอนุรักษนิยมอย่างชัดเจน ในขณะที่รัฐขนาดใหญ่ทางภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก มีแนวโน้มความเป็นเสรีนิยมสูง เช่น แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก และ แมสซาชูเซตส์ จากการมีผู้อพยพพลัดถิ่น และกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีหลายรัฐที่คะแนนนิยมของผู้สมัครและผลคะแนนค่อนข้างสูสี เช่น มิชิแกน, เพนซิลวาเนีย, จอร์เจีย, เนวาดา, แอริโซนา, โอไฮโอ และ วิสคอนซิน รัฐเหล่านี้ล้วนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดผลการเลือกตั้ง[22]
รัฐนอร์ทแคโรไลนา ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิสำคัญ เนื่องจากผลการเลือกตั้งครั้งก่อนที่เป็นไปอย่างสูสี ซึ่งทรัมป์เอาชนะไบเดินไปด้วยความห่างเพียง 1.34%[23] ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า รัฐสำคัญอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไอโอวา และ ฟลอริดา มีแนวโน้มสูงที่จะสนับสนุนพรรครีพับลิกัน ในขณะที่รัฐโคโลราโด, นิวเม็กซิโก และเวอร์จิเนีย สนับสนุนพรรคเดโมแครต[24][25]
นับเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ ที่พรรคเดโมแครตสามารถรักษาฐานเสียงได้ดีในกลุ่มประชากรผิวสี, ผู้อพยพเข้าเมือง และพลเมืองอเมริกันที่สืบเชื้อสายจากภูมิภาคอื่น ๆ เช่น อเมริกาใต้, แอฟริกัน และเอเชีย (โดยเฉพาะจีน อินเดีย และ ชาวมุสลิม) รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นนักศึกษา, ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก, ประชากรวัยทำงานที่มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง และประชากรในเขตเมือง[26] ในขณะที่ผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันส่วนใหญ่ก็คือประชากรผิวขาว, ผู้มีรายได้สูง รวมถึงในเขตชนบท และ ผู้สูงอายุ[27] นอกจากนี้ ชนชั้นกลางมีแนวโน้มสนับสนุนพรรครีพับลิกันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ความนิยมดังกล่าวได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ อันเนื่องมาจากการถือกำเนิดขึ้นของกลุ่มขบวนการการเมืองใหม่ในชื่อ "Tea Party" หรือ “กลุ่มน้ำชา” ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษนิยมเชิงเสรีนิยม แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่สมัยที่ดินแดนของสหรัฐยังอยู่ใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักรเมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว การเติบโตของกลุ่มดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีต่อผู้สมัครจากเดโมแครต เช่น ฮิลลารี คลินตัน และประธานาธิบดีคนล่าสุดอย่างไบเดิน โดยคะแนนนิยมของนายทรัมป์ในกลุ่มประชากรย่านชานเมือง ลดน้อยลงจากผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันคนอื่น ๆ
การหาเสียง
ประเด็นสำคัญ
การเรียกร้องประชาธิปไตย
การเลือกตั้งครั้งนี้ ประธานาธิบดีไบเดินถูกคาดหวังให้ตีกรอบและกำหนดแนวทางการเลือกตั้งว่าเป็น "การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งคล้ายกับการวางกรอบภูมิรัฐศาสตร์ร่วมสมัย โดยเปรียบเสมือนการต่อสู้ระหว่างขั้วประชาธิปไตยและเผด็จการ ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ไบเดินกล่าวสุนทรพจน์สำคัญหลายครั้งเพื่ออ้างถึงหลักประชาธิปไตยในประเทศ และเปรียบเทียบการเลือกตั้งว่าเป็น "การต่อสู้เพื่อจิตวิญญาณของพลเมืองอเมริกัน และประเทศชาติ" ถือเป็นข้อความสำคัญในการรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2563 และใช้เป็นประโยคประจำตัวในการกล่าวสุนทรพจน์ของเขานับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา[28]
ในทางกลับกัน การรณรงค์หาเสียงของทรัมป์นับตั้งแต่ปี 2559 ถูกวิจารณ์เชิงลบซึ่งถึงการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงและนโยบายที่สุดโต่ง[29] เป็นที่ทราบกันดีว่าทรัมป์ปฏิเสธการยอมรับผลการเลือกตั้งปี 2563 และมีการเสนอข่าวว่าเขาพยายามทุกวิถีทางเพื่อ "พลิกผลการเลือกตั้ง" รวมถึงกระแสที่ว่าเขาต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ รวมถึงการใช้กระทรวงยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อพลิกผลการเลือกตั้ง คำกล่าวอ้างของทรัมป์กรณีการโกงเลือกตั้งปี 2563 ก่อให้เกิดข้อกังวลต่อสถานะความเป็นประชาธิปไตยในประเทศ[30][31]
ประชาธิปไตยมีแนวโน้มจะเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงรวมถึงการดีเบตในปี 2567 ผลสำรวจโดย AP-NORC ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม 2566 ระบุว่ากว่า 62% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความเห็นว่าสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐยังไม่แน่นอน โดยขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งปี 2567
เศรษฐกิจ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่เห็นว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในประเด็นหลักในการหาเสียงครั้งนี้ การระบาดทั่วของโควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะยังไม่คลี่คลายลงภายหลังการเลือกตั้ง 2567[32] ช่วงเวลาที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงเริ่มต้นในปี 2564 ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงโรคระบาดและวิกฤตห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งต่อมาทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเป็นผลจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565[33][34]
นับตั้งแต่ปี 2564 ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นในเชิงลบของประชาชน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไบเดิน[35] ประชากรหญิงจำนวนมากได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากส่วนมากต้องลาออกจากงานเพื่อดูแลบุตร[36] รัฐบาลกลางมีมาตรการเยียวยาปัญหาดังกล่าวด้วยการเสนอมาตรการดูแลเด็กซึ่งรวมถึงการขยายเครดิตภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ American Rescue Plan โดยเป็นมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง แต่มาตรการดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดก่อนการเลือกตั้งปี 2567[37] ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ทรัมป์และไบเดินลงนามในกฎหมายสำคัญหลายฉบับเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ[38][39][40]
การศึกษา
ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง โจ ไบเดิน มีนโยบายผ่อนปรนการชำระเงินกู้ให้แก่นักศึกษาเป็นจำนวนเงินสูงถึง 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[41] ความช่วยเหลือดังกล่าวยังรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการค้างชำระหนี้เป็นเวลานาน ในเดือนสิงหาคมปี 2565 ไบเดินประกาศว่าเขาจะลงนามในคำสั่งที่จะยกหนี้ให้แก่นักศึกษาจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงหนี้จากการกู้เงินจำนวนรวม 10,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นโสดซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 125,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือคู่สมรสที่มีรายได้น้อยกว่า 250,000 ดอลลาร์ และ 20,000 ดอลลาร์สำหรับผู้ที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง (Pell Grant) ที่มอบให้กับนักเรียนที่ต้องการใช้จ่ายเงินเพื่อเข้าเรียนในวิทยาลัย[42][43] อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวถูกยกเลิกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 จากคำตัดสินของศาลฎีกาในคดี Biden v. Nebraska ซึ่งถูกท้าทายโดยผู้แทนจากหลายรัฐ[44][45] นโยบายดังกล่าวถูกวิจารณ์จากสมาชิกพรรครีพับลิกันส่วนมาก เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ
ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันหลายรายมองว่านโยบายทางการศึกษาจะนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งถัดไป รัฐหลายแห่งในสหรัฐออกกฎหมายปกป้องการวิพากษ์วิจารณ์เชื้อชาติ ซึ่งทำให้นักศึกษาได้รับเสรีภาพทางความคิดกรณีความแตกต่างทางเชื้อชาติมากขึ้น ผู้สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวมีความเห็นว่าการสนทนาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปในสถานศึกษา[46][47]
ผู้สมัคร
พรรคเดโมแครต
ชื่อ | สถานที่เกิด | ประสบการณ์ | ภูมิลำเนา | การประกาศแคมเปญ |
รัฐที่ชนะการหยั่งเสีย | Delegates won | Total popular vote[48] | ผู้สมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดี | อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
โจ ไบเดิน |
20 พฤศจิกายน 2485 สแครนตัน, เพนซิลเวเนีย |
ประธานาธิบดีสหรัฐ (2564–ปัจจุบัน), รองประธานาธิบดีสหรัฐ (2552–2560), สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจาก รัฐเดลาแวร์ (2516–2552) |
เดลาแวร์ | Campaign |
4 (NH, SC, NV, DE) |
91 | 205,450 (85.7%) | Kamala Harris[50] | [51] | |
ดีน ฟิลลิปส์ |
20 มกราคม 2512 เซนต์ พอล, มินนิโซตา |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ (2562–ปัจจุบัน), กรรมการบริหาร Phillips Distilling Company |
มินนิโซตา | Campaign |
None | 0 | 26,616 (11.1%) | None | [53] |
ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 โจ ไบเดิน ประกาศเจตนารมณ์ในการลงสมัครเลือกตั้งเป็นครั้งที่สอง โดยรองประธานาธิบดีอย่าง กมลา แฮร์ริส จะยังเป็นตัวแทนลงแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งเช่นเคย[54][55] ส่งผลให้พรรครีพับลิกันวิจารณ์แฮร์ริสในประเด็นต่าง ๆ รุนแรงขึ้น[56] นับตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นต้นมา คะแนนนิยมของไบเดินต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ชาวอเมริกันจำนวนมากวิจารณ์ถึงความล้มเหลวของไบเดินในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้จะมีอัตราจ้างงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเคยมีการคาดเดาว่าเขาอาจตัดสินใจไม่ลงสมัครเป็นครั้งที่สอง[57] สมาชิกพรรค และนักการเมืองที่มีชื่อเสียงจากเดโมแครตหลายคน เช่น แคโรลีน บี. มาโลนีย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึง ทิม ไรอัน สมาชิกจากรัฐโอไฮโอ ตอบสนองต่อข้อกังวลดังกล่าว และพยายามโน้มน้าวให้ไบเดินล้มเลิกความตั้งใจในการลงสมัคร[58][59][60] ไบเดินยังได้รับการวิจารณ์ในกรณีอายุและสุขภาพของเขา โดยหากเขาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ เขาจะมีอายุครบ 82 ปี และจะมีครบ 86 ปีเมื่อดำรงตำแหน่งครบวาระ[61] จากผลสำรวจโดยเอ็นบีซี ระบุว่า ชาวอเมริกันกว่า 70% ซึ่งในที่นี้รวมถึง 51% ที่สนับสนุนพรรคเดโมแครต มีความเห็นว่าไบเดินไม่ควรลงสมัครในครั้งนี้ กว่าครึ่งหนึ่งแสดงความกังวลเกี่ยวกับอายุของเขา[62]
มาเรียนน์ วิลเลียมสัน นักเขียนชื่อดังจากรัฐเท็กซัส ประกาศลงสมัครในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2566 ไม่นานก่อนการประกาศของไบเดิน ต่อมา ในเดือนเมษายน โรเบิร์ต เอฟ.เคนเนดี จูเนียร์ หลานชายของอดีตประธานาธิบดีชื่อดัง จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศลงชิงตำแหน่ง[63][64][65] อย่างไรก็ตาม เขาได้รับการวิจารณ์ในกรณีรณรงค์ต่อต้านการฉีดวัคซีน ต่อมาในเดือนตุลาคม เขาถอนตัวจากการสมัครในฐานะพรรคเดโมแครต และหันไปลงสมัครในนามอิสระ
พรรครีพับลิกัน
ชื่อ | สถานที่เกิด | ประสบการณ์ | ภูมิลำเนา | การประกาศแคมเปญ | Bound delegates |
รัฐที่ชนะการหยั่งเสียง | Popular vote [66] |
อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดอนัลด์ ทรัมป์ |
14 มิถุนายน 2489 ควีนส์, นิวยอร์ก |
ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 (2560–2564) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น (2514–2560) |
ฟลอริดา[a] | Campaign 15 พฤศจิกายน 2565 FEC filing[67][68][69] Website |
33 (53.2%) |
2 (IA, NH) |
232,634 (53.5%) | [70] | |
นิกกี เฮลีย์ |
20 มกราคม 2515 แบมเบิร์ก, รัฐเซาท์แคโรไลนา |
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ
คนที่ 29 |
เซาท์แคโรไลนา | Campaign 14 กุมภาพันธ์ 2566 FEC filing[71] Website |
17 (27.4%) |
0 | 182,775 (37.1%) | [72] |
ดอนัลด์ ทรัมป์แพ้การเลือกตั้งสมัยที่สองในปี 2563 ส่งผลให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 ที่มีสิทธิลงสมัครในวาระที่สองแบบไม่ต่อเนื่องกัน และหากชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ ทรัมป์จะเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ต่อจาก โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในปี 2434 ที่ดำรงตำแหน่งสองวาระแบบไม่ต่อเนื่องกัน[73] ทรัมป์เปิดตัวแคมเปญอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[74] เขาประกาศว่าหากเขาชนะการหยั่งเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรค เขาจะไม่เสนอชื่อ ไมก์ เพนซ์ เป็นรองประธานาธิบดีอีก ทั้งคู่มีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดนับตั้งแต่สิ้นสุดการเลือกตั้งปี 2563 ทรัมป์ตกเป็นประเด็นทางสังคมอีกครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 เมื่อเขาถูกกกล่าวหาว่าจ่ายเงินปิดปาก สตอร์มมี แดเนียลส์ นักแสดงหนังผู้ใหญ่ เพื่อให้เธอปกปิดการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเธอและทรัมป์[75] เขาถูกฟ้องร้องอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ในข้อหาการจัดการเอกสารราชการอย่างลับ ๆ ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ ทรัมป์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา[76][77] ต่อมา ศาลสูงสุดแห่งรัฐโคโลราโด วินิจฉัยว่าทรัมป์ขาดคุณสมบัติในการรับตำแหน่งในรัฐบาลกลางสหรัฐ ในความผิดฐานปลุกระดมให้ผู้สนับสนุนก่อความไม่สงบ รวมถึงการขัดขวางกระบวนการรับรองนายไบเดินภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 ตามด้วยเหตุจลาจลในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยคำตัดสินดังกล่าวอยู่ระหว่างการอุทธรณ์
รอน เดอซานติส ผู้ว่าการรัฐ��ลอริดา ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นคู่แข่งคนสำคัญของทรัมป์ เขาได้รับคะแนนนิยมและเสียงตอบรับอย่างดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และมีคะแนนนิยมสูงกว่าทรัมป์ในช่วงปลายปี[78][79][80] ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เดอซานติส เผยแพร่บทสนทนาระหว่างเขาและอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้ง ซีอีโอ และหัวหน้าวิศวกร ของสเปซเอ็กซ์ ใจความว่า "ความเสื่อมถอยของสหรัฐมิใช่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากแต่เป็นทางเลือก...ผมลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อเป็นผู้นำในการนำความยิ่งใหญ่คืนสู่ประเทศอีกครั้ง"[81] เขาให้สัมภาษณ์กับรายการทอล์กโชว์ชื่อดังอย่าง Fox & Friends ว่าจะทำลายกลุ่มคนฝ่ายซ้ายในสหรัฐ[82] อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ชี้ให้เห็นว่าทรัมป์มีคะแนนนิยมเหนือผู้สมัครคนอื่น[83]
นิกกี เฮลีย์ อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และ ผู้ว่าการรัฐเซาท์แคโรไลนา ถือเป็นผู้สมัครที่มีคะแนนนิมยมเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566[84] ต่อมา ในเดือนมกราคมปี 2567 นายเดอซานติสประกาศถอนตัวจากการลงสมัคร และหันไปให้การสนับสนุนทรัมป์แทน
อ้างอิง
- ↑ "Election Planning Calendar" (PDF). essex-virginia.org. Essex County, Virginia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2016. สืบค้นเมื่อ February 6, 2016.
- ↑ Din, Benjamin (March 25, 2021). "Biden: 'My plan is to run for reelection' in 2024". Politico (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2021. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
- ↑ Singman, Brooke (November 7, 2022). "Donald Trump announces 2024 re-election run for president". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2022. สืบค้นเมื่อ November 16, 2022.
- ↑ "Exclusive: Inside Robert F. Kennedy Jr.'s independent presidential run". Deseret News (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-02.
- ↑ Enten, Harry (2023-11-11). "How RFK Jr. could change the outcome of the 2024 election | CNN Politics". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Trump back on ballot in Colorado while state Republicans appeal ban to Supreme Court - CBS News". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-12-28.
- ↑ Freiman, Jordan; Kaufman, Katrina; Kazarian, Grace (2023-12-29). "Maine secretary of state disqualifies Trump from primary ballot - CBS News". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Trump says he will renew efforts to replace 'Obamacare' if he wins a second term". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-27.
- ↑ Manchester, Julia (2023-01-29). "Republicans see education as winning issue in 2024". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "Will 2024 Be About the Economy, or the Candidates?". Cook Political Report (ภาษาอังกฤษ). 2023-03-02.
- ↑ Ward, Alexander; Berg, Matt (2023-10-20). "2024: The foreign policy election?". POLITICO (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ News, A. B. C. "Here's where the 2024 presidential candidates stand on LGBTQ+ issues". ABC News (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Trump's 'dictator' remark puts 2024 campaign right where Biden wants it". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-07.
- ↑ "Americans agree that the 2024 election will be pivotal for democracy, but for different reasons". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-15.
- ↑ "US Election guide: how does the election work?". The Daily Telegraph. November 6, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2015. สืบค้นเมื่อ October 29, 2015.
- ↑ Samuels, Brett (2022-06-13). "Trump releases 12-page response to Jan. 6 hearing". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "Trump demands 'new election immediately' in bizarre post on Truth Social". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-29.
- ↑ 264. "How Bad Could the 2024 Election Be? | Brennan Center for Justice". www.brennancenter.org (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gambino, Lauren (2023-11-05). "With the US election a year away, most Americans don't want Biden or Trump". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "Republicans switched gears to focus on issues such as inflation and crime that poll highest among voter concerns". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2022-11-07.
- ↑ "Is Our Democracy Under Threat?". www.rutgers.edu (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Dorman, John L. "Six battleground states will hold the key to the White House in 2024". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "North Carolina may be the hottest political battleground of 2024". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "Biden wins Minnesota, continuing decades-long Democratic streak". MinnPost (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-04.
- ↑ Smith, David (2021-03-08). "'We're making our way': how Virginia became the most progressive southern state". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "The Rise of College-Educated Democrats". Manhattan Institute (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Who Votes Republican? | RealClearPolitics". www.realclearpolitics.com.
- ↑ "Trump's 'dictator' remark puts 2024 campaign right where Biden wants it". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-07.
- ↑ Stone, Peter (2023-11-22). "'Openly authoritarian campaign': Trump's threats of revenge fuel alarm". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ Mizelle, Shawna (2023-02-22). "Lawmakers in 32 states have introduced bills to restrict voting so far this legislative session | CNN Politics". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Skelley, Geoffrey (2021-05-17). "How The Republican Push To Restrict Voting Could Affect Our Elections". FiveThirtyEight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Siders, David (2020-04-02). "How the coronavirus is shaping the 2024 presidential race". POLITICO (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Global surge in inflation". Deloitte Insights (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "The chief economist at Moody's thinks that Russia's invasion of Ukraine accounts for over a third of U.S. inflation – and that COVID stimulus had almost no impact". Fortune (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Enten, Harry (2021-12-21). "Biden's economic ratings are worse than Carter's | CNN Politics". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Panetta, Grace (2023-04-25). "Biden's reelection could hinge on how much women voters trust him on the economy". The 19th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Panetta, Grace (2023-05-08). "Why child care can't be overlooked as an issue in 2024". The 19th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Trump signs tax cut bill, first big legislative win". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2017-12-22.
- ↑ Ewing, Giselle Ruhiyyih (2023-06-03). "Biden signs debt ceiling bill". POLITICO (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Hagen, Lydia Wheeler and Lisa (2017-01-30). "Trump signs '2-for-1' order to reduce regulations". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Minsky, Adam S. "$132 Billion In Student Loan Forgiveness Approved: Who Qualifies, And What's Next". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ House, The White (2022-08-24). "FACT SHEET: President Biden Announces Student Loan Relief for Borrowers Who Need It Most". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Biden moves quickly in effort to reassure young voters on student loans". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-30.
- ↑ "The Supreme Court rejects Biden's plan to wipe away $400 billion in student loan debt". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-30.
- ↑ Potts, Monica (2023-06-30). "The Supreme Court Killed Biden's Student Loan Forgiveness Plan. What Does That Mean For 2024?". FiveThirtyEight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Wilson, Reid (2021-06-23). "GOP sees critical race theory battle as potent midterm weapon". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Asmelash, Leah (2021-05-05). "A school district tried to address racism, a group of parents fought back". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "The Green Papers 2024 Presidential Primaries". The Green Papers.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. April 25, 2023. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2023. สืบค้นเมื่อ April 25, 2023.
- ↑ Frazier, Kierra (September 13, 2023). "Columnists call for Biden to drop Harris, pick new running mate". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 24, 2024.
- ↑ Gittleson, Ben; Nagle, Molly (April 25, 2023). "Joe Biden announces he is running for president again, setting up possible Trump rematch". ABC News. สืบค้นเมื่อ April 25, 2023.
- ↑ "Statement of Candidacy". docquery.fec.gov. October 26, 2023. สืบค้นเมื่อ October 26, 2023.
- ↑ Lebowitz, Megan (October 26, 2023). "Democratic Rep. Dean Phillips launches a White House bid, challenging Biden". NBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 27, 2023.
- ↑ "President Joe Biden launches 2024 re-election campaign" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-04-25. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ Rafford, Claire (2022-01-19). "Biden commits to Harris as his running mate for 2024". POLITICO (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Garrison, Joey. "VP Kamala Harris becomes Republicans' go-to target after Biden launches 2024 reelection bid". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Gangitano, Alex (2021-11-18). "Harris says 2024 is 'absolutely not' being discussed yet with Biden". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ Watson, Kathryn (2022-08-15). "Rep. Carolyn Maloney says "off the record," Biden is "not running again" - CBS News". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Vakil, Caroline (2022-06-23). "SC Democratic governor candidate says Biden shouldn't run in 2024 due to age". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ Reimann, Nicholas. "Rep. Tim Ryan Suggests Biden Shouldn't Run In 2024—Joining These Other Democrats". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ News, A. B. C. "Biden tells ABC's David Muir 'yes' he'll run again, Trump rematch would 'increase the prospect'". ABC News (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Silver, Nate (2021-01-28). "How Popular Is Joe Biden?". FiveThirtyEight (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Brooks, Rebecca Klar, Emily (2023-07-20). "RFK Jr. hearing puts censorship, misinformation fights at center stage". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ News, A. B. C. "Robert F. Kennedy Jr. launches long shot presidential bid as a Democrat". ABC News (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Auschwitz Memorial says RFK Jr. speech at anti-vaccine rally exploits Holocaust tragedy | TheHill". web.archive.org. 2022-01-24.
- ↑ "The Green Papers 2024 Presidential Primaries". The Green Papers.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. November 15, 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2022. สืบค้นเมื่อ December 6, 2022.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. December 8, 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2023. สืบค้นเมื่อ February 14, 2023.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. December 11, 2023. สืบค้นเมื่อ January 12, 2023.
- ↑ Singman, Brooke (November 15, 2022). "Donald Trump announces 2024 re-election run for president". Fox News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2022. สืบค้นเมื่อ November 15, 2022.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. February 14, 2023. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2023. สืบค้นเมื่อ February 16, 2023.
- ↑ Burlij, Terence; Sullivan, Kate (February 14, 2023). "Nikki Haley announces 2024 White House bid". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2023. สืบค้นเมื่อ February 14, 2023.
- ↑ Zeitz, Joshua (2022-11-15). "4 Ex-Presidents Who Ran Again — And What They Mean for Trump". POLITICO (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Bravender, Robin. "A top campaign strategist for Ted Cruz and Glenn Youngkin says 'if Trump runs, Trump will be the nominee' in 2024". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Mangan, Dan (2023-03-30). "Trump indicted by New York grand jury, and he's due in court Tuesday". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ CNN, By <a href="/profiles/aditi-sandal">Aditi Sangal</a>, Mike Hayes, <a href="/profiles/tori-powell">Tori B. Powell</a>, <a href="/profiles/maureen-chowdhury">Maureen Chowdhury</a>, <a href="/profiles/elise-hammond">Elise Hammond</a>, <a href="/profiles/adrienne-vogt">Adrienne Vogt</a> and <a href="/profiles/tori-powell">Tori B. Powell</a> (2023-06-13). "June 13, 2023 Trump pleads not guilty in historic federal indictment". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Leary, Aaron Zitner and Alex. "Trump Faces 2024 Split Screen of Campaign and Criminal Trials". WSJ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "Trump Fundraising Slows For First Time In 18 Months, Trails DeSantis". HuffPost (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-16.
- ↑ Pengelly, Martin (2022-12-14). "Trump 'is in trouble', says insider after DeSantis surges in 2024 polls". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ "DeSantis builds his conservative resume as Trump flounders". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-15.
- ↑ "DeSantis launches GOP presidential campaign in Twitter announcement plagued by glitches". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-05-25.
- ↑ Pengelly, Martin (2023-05-30). "Ron DeSantis says he will 'destroy leftism' in US if elected president". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ Wiederkehr, Ryan Best, Aaron Bycoffe, Ritchie King, Dhrumil Mehta and Anna (2018-06-28). "National : President: Republican primary : 2024 Polls". FiveThirtyEight (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Kashinsky, Lisa (2023-11-10). "Chris Sununu: Vivek Ramaswamy 'would be a poor choice' for president". POLITICO (ภาษาอังกฤษ).
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน