ข้ามไปเนื้อหา

Non nobis solum

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์กุส ตุลลิอุส กิแกโร นักปรัชญา

Non nobis solum (อังกฤษ: not for ourselves alone) แปลว่า ไม่ใช่เพื่อพวกเราเท่านั้น เป็นคติพจน์ภาษาลาติน บางครั้งเขียนว่า non nobis, sed omnibus ("not for us, but for everyone" ไม่ใช่เพื่อเรา แต่เพื่อทุกคน) และ non nobis solum, sed omnibus หมายความว่า คนควรทำเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาตินอกเหนือจากประโยชน์ส่วนตัว

คติพจน์นี้มาจากประโยคหนึ่งในศาสตรนิพนธ์ที่มีอิทธิพลมากของกิแกโรเรื่อง On Duties (ละติน: De Officiis) ซึ่งกิแกโรเขียนไว้ว่า "non nobis solum nati sumus ortusque nostri partem patria vindicat, partem amici" แปลว่า เราเกิดมาไม่ใช่เพื่อตัวเราเท่านัน, ประเทศของเรา เพื่อนของเรา ต่างมีส่วนร่วมในตัวเรา De Officiis, 1:22 ประโยคนี้ กิแกโรกล่าวเองว่า เป็นการถอดความโดยตรงมาจากแนวความคิดของเพลโตในหนังสือ Letter to Archytas (จดหมายถึงอาคาทาส)[1] ในบริบทของเนื้อเรื่อง ประโยคนี้สื่อว่า มนุษย์ได้รับการรังสรรค์ขึ้นเพื่อมนุษย์ด้วยกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกันและกันให้มากที่สุด[2] กิแกโรเชื่อมโยงความคิดนี้เข้ากับคตินิยมสากลของลัทธิสโตอิก และตามลัทธินี้ มนุษย์ทุกคนมีความเกี่ยวดองกันและจำเป็นต้องมีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แลกเปลี่ยนความเอื้อเฟื้อโดยการให้และรับ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ps.-Plato, Epistle 9.358a
  2. Dyck, Andrew R. (1996). A Commentary on Cicero, De Officiis. Ann Arbor, MI: University of Michigan Press. pp. 112–113. ISBN 978-0-472-10719-3.
  3. De officiis 1.22, transl. Walter Miller, 1913

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]